ข้อคิดดีดี

วันพฤหัสบดีที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2553

บทที่ 3
คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์
ฮาร์ดแวร์ หมายถึง ส่วนที่ประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ที่เราสามารถมองเห็นและสัมผัสได้
        ตัวเครื่อง ( Case ) ทำหนาที่ในส่วนของการประมวลผลข้อมูลที่ได้รับจากการนำเข้าต่างๆ ซึ่งภายในตัวเครื่อง
      จอภาพ ( Monitor ) ทำหน้าที่แสดงผลข้อความ รูปภาพ
        ดิสก์ไดร์ฟ ( Disk drive ) เป็นอุปกรณ์อ่าน-เขียนข้อมูลบนดิสก์เก็ต
        คีย์บอร์ด ( Keyboard ) ทำหน้าที่ป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์
        เมาส์ ( Mouse ) เป็นส่วนที่ใช้สั่งงานด้วยการชี้และเลือกสิ่งต่าง ๆ ที่แสดงอยู่บนจอภาพ
        ลำโพง ( Speaker ) เป็นส่วนที่ใช้แสดงผลที่เป็นแบบเสียง

 ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
          จำแนกหน้าที่ของฮาร์ดแวร์ต่างๆ สามารถแบ่งเป็นส่วนสำคัญ 5 ส่วน คือ
1.หน่วยรับข้อมูล( Input Unit )
ทำหน้าที่รับโปรแกรมคำสั่งและข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์
ฮาร์ดแวร์ทำหน้าที่เป็นหน่วยรับข้อมูลมีหลากหลายอุปกรณ์ ได้แก่
1.1คีย์บอร์ด ( Keyboard ) อุปกรณ์รับข้อมูลจากการกดแป้นแล้วทำการเปลี่ยนเป็นรหัสเพื่อบอกให้คอมพิวเตอร์รู้ว่ามีการกดตัวอักษรอะไร แผงแป้นอักขระส่วนใหญ่เป็นไปตามมาตรฐานของเครื่องพิมพ์ดีด ซึ่งระบบรับรหัสตัวอักขระที่ใช้ในทางคอมพิวเตอร์เป็นรหัส 7 หรือ 8 บิต
1.2เมาส์ ( Mouse ) อุปกรณ์นำเข้าข้อมูลโดยการเลื่อนเมาส์เพื่อบังคับตัวชี้ไปยังตำแหน่งต่างๆ บนหน้าจอ เม้าส์ที่นิยมใช้มีด้วยกัน 3 ประเภท ได้แก่
- แบบทางกล ( Mechanical ) ใช้ลูกกลิ้งกลม
       -แบบใช้แสง ( Optical mouse )
       -แบบไร้สาย ( Wireless Mouse )
1.3 OCR ( Optical Character Reader ) อุปกรณ์นำเข้าข้อมูล โดยใช้วิธีการอ่านข้อมูลด้วยลำแสงในลักษณะพาดขวางบนเอกสารที่มีข้อมูลอยู่ แล้วแปลงรหัสเป็นสัญญาณไฟฟ้าไปเก็บในเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์โอซีอาร์ที่เราสามารถพบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ เครื่องอ่านรหัสแท่ง( Barcode reader )
1.4 OMR ( Optical Mark Reader ) อุปกรณ์นำเข้าที่ทำงานโดยการอ่านข้อมูลจากการทำเครื่องหมายด้วยดินสอและปากกาลงบนกระดาษคำตอบ (Answer sheet) ที่ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะ
1.5 เครื่องอ่านพิกัด ( Digitlzer )เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลมีลักษณะเป็นแผ่นกระดานสี่เหลี่ยมมีสายไฟฟ้าและอุปกรณ์คล้ายแว่นขยายที่มีเครื่องหมายกากบาทตรงกลาง พร้อมกับปุ่มสำหรับกดโดยปกติมักใช้ในการอ่านจุดพิกัดของแผนที่ หรือตำแหน่งของภาพกราฟฟิกต่างๆ
1.6สแกนเนอร์ ( Scanner ) เป็นอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลที่เป็นเอกสาร รูปภาพ หรือ รูปถ่าย สแกนเนอร์สามารถแบ่งออกได้ 3 ประเภท  คือ
       -แบบเลื่อนกระดาษ ( Sheet- Fed Scanner )สแกนเนอร์แบบนี้จะรับกระดาษแล้วค่อยๆ เลื่อนหน้ากระดาษให้ผ่านหัวสแกนซึ่งอยู่กับที่
       -แบบแท่งนอน ( Flatbed scanner )สแกนเนอร์แบบนี้จะมีกลไกคล้ายกับเครื่องถ่ายเอกสาร เหมาะสำหรับใช้กับเอกสารทั้งที่เป็นแผ่นเดียวและเอกสารที่เป็นเล่ม
       -แบบมือถือ ( Hand-held Scanner ) สแกนเนอร์แบบมือถือได้รวมเอาข้อดีของสแกนนอร์ทั้งสองแบบเข้าไว้ด้วยกัน
1.7  ปากกาแสง ( Light Pen ) เป็นอุปกรณ์ทำงานคล้ายกับเมาส์ในการติดต่อกับคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่เหมาะสำหรับการวาดภาพ
1.8 จอยสติก ( Joy Sticks ) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมทิศทางของวัตถุบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ มีทั้งเป็นแบบแบน แบบคันโยก หรือพวงมาลัย
1.9 จอสัมผัส ( Touch Screen ) เป็นจอภาพลักษณะพิเศษที่ใช้ระบบสัมผัสแทนการใช้คีย์บอร์ดและเมาส์ นิยมนำมาใช้กับงาน
1.10 เครื่องทอมินัส ( Point of Sale Terminal ) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลมีแป้นพิมพ์สำหรับกรอกข้อมูล มีจอภาพเล็กๆ เพื่อใช้แสดงผลต่างๆ และมีเครื่องพิมพ์สำหรับพิมพ์รายการ ทั้งนี้สามารถนำเครื่องอ่านรหัสบาร์โค๊ดเข้ามาช่วยในการรับข้อมูลได้
1.11 แผ่นสัมผัส ( Touch Pads ) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลโดยการใช้นิ้วสัมผัสลงบนแผ่นสัมผัส น้ำหนักที่กดส่งไปจะถูกเปลี่ยนเป็นสัญญาณไฟฟ้า มักเห็นอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก
1.12 กล้องดิจิทัล (Digital Camera ) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ ที่สามารถแปลงข้อมูลภาพเป็นสัญญาณดิจิทัล มีลักษณะการใช้งานเหมือนกล้องถ่ายภาพทั่วไปแต่ต่างกันตรงที่ไม่ต้องใช้ฟิล์มในการบันทึกข้อมูลข้อมูล
1.13 อุปกรณ์รับข้อมูลเสียง (Voice Input Devices ) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าไมโครโฟนเป็นอุปกรณ์รับข้อมูลในรูปแบบเสียง โดยจะทำการแปลงสัญญาณเสียงเป็นสัญญาณดิจิทัลแล้วจึงส่งไปยังคอมพิวเตอร์

2. หน่วยความจำ ( Memory Unit )
ทำหน้าที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่งที่ส่งมาจากหน่วยรับข้อมูล เพื่อเตรียมส่งไปยังหน่วยแสดงผล
สามารถจำแนกตามลักษณะการใช้งานได้  2 ประเภท คือ
           2.1 หน่วยความจำหลัก ( Main Memory ) หรือเรียกว่าหน่วยความจำภายใน ( Internal Memory ) สามาแบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่
                   - รอม ( Read Only Memory – ROM ) เป็นหน่วยความจำที่มีโปรแกรมหรือข้อมูลอยู่แล้วสามารถเรียกออกมาใช้งานได้แต่จะไม่สามารถเขียนเพิ่มเติมได้และแม้ว่าจะไม่มีกระแสไฟฟ้าไปเลี้ยงให้แก่ระบบข้อมูลก็ไม่สูญหายไป
                   - แรม  (Random Access Memory ) เป็นหน่วยความจำที่สามาเก็บข้อมูลได้เมื่อมีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้นเมื่อใดไม่มีกระแสไฟฟ้ามาเลี้ยงข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำชนิดนี้จะหายทันที
                     2.2 หน่วยความจำรอง ( Second Memory ) หรือหน่วยความจำภายนอก ( External Memory ) เป็นหน่วยความจำที่อาศัยสื่อบันทึกข้อมูลและอุปกรณ์รับ-ส่งข้อมูลชนิดต่าง ๆ  ได้แก่
- ฮาร์ดดิสก์ ( Hard Disk ) เป็นฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งโปรแกรมใช้งานต่างๆ ไฟล์เอกสาร รวมทั้งเป็นที่เก็บระบบปฏิบัติการที่เป็นโปรแกรมควบคุมทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย
- ฟล็อบปี้ดิสก์  ( Floppy Disk ) เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อบันทึกข้อมูลที่มีขนาด 3.5 นิ้ว มีลักษณะเป็นแผ่นกลมบางทำจากไมลาร์ สามารถบรรจุข้อมูลได้เพียง 1.44 เมกะไบต์เท่านั้น
- ซีดี ( Compact Disk – CD ) เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลแบบดิจิทัล เป็นสื่อที่มีขนาดความจุสูง เหมาะสำหรับบันทึกข้อมูลแบบมัลติมีเดีย ซีดีรอมทำมาจากแผ่นพลาสติกกลมบางที่เคลือบด้วยสารโพลีคาร์บอเนต ทำให้ผิวหน้าเป็นมันสะท้อนแสง ได้แก่ ซีดีเพลง วีซีดี ซีดี อาร์  ซีดี-อาร์ดับบลิว และ ดีวีดี
-รีมูฟเอเบิล  ไดร์ฟ  เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลที่ไม่ต้องมีตัวขับเคลื่อน สามารถพกพาไปไหนได้โดยต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย Port USB
-ซิบไดร์ฟ เป็นสื่อบันทึกข้อมูลที่จะมาแทนแผ่นฟล็อปปี้ดิสก์ มีขนาดความจุ 100 เมกะไบต์ ซึ่งการใช้งานซิปดิสก์จะเก็บได้มากกว่าฟล็อปปี้ดิสก์
-Magnetic optical Disk Drive เป็นสื่อเก็บข้อมูลขนาด 3.5 นิ้ว ซึ่งมีขนาดพอๆกับฟล็อบปี้ดิสก์ แต่ขนาดความจุ มากกว่า
-เทปแบ็คอัพ ( Tape Backup ) เป็นอุปกรณ์สำหรับการสำรองข้อมูลซึ่งเหมาะกับการสำรองข้อมูลขนาดใหญ่มากๆ ขนาดระดับ 10-100 กิกะไบต์
-การ์ดเมมโมรี่ ( Memory Card ) เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลที่มีขนาดเล็ก พัฒนาขึ้นเพื่อนำไปใช้กับอุปกรณ์เทคโนโลยีแบบต่างๆ เช่น กล้องดิจิทัล คอมพิวเตอร์มือถือ โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น
3.หน่วยประมวลผลกลาง ( Central Processing Unit – CPU )
         หน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า โปรเซสเซอร์ ( Processor ) หรือซิป นับเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากที่สุดของฮาร์ดแวร์ เพราะมีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อน เข้ามาทางอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการใช้งาน ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคำนวณทั้งทางตรรกะและคณิตศาสตร์รวมทั้งการประมวลข้อมูลตามคำสั่งที่ได้รับ หน่วยประมวลผลกลางประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ
3.1หน่วยคำนวณและตรรกะ ( Arithmetic & Logical : ALU ) หน่วยคำนวณตรรกะทำหน้าที่เหมือนกับเครื่องคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร อีกทั้งมีความสามารถอีกอย่างหนึ่งที่เครื่องธรรมดาไม่มี คือ ความสามารถในเชิงเปรียบเทียบตามเงื่อนไขและกฎเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ เพื่อให้ได้คำตอบออกมาว่าเงื่อนไข นั้นเป็น จริง หรือเท็จ ได้
3.2หน่วยควบคุม ( Control Unit ) หน่วยควบคุมทำหน้าที่ควบคุมลำดับขั้นตอนการประมวลผล รวมไปถึงการประสานงานกับอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล อุปกรณ์แสดงผล และหน่วยความจำสำรองด้วย ซีพียูที่มีจำหน่ายในท้องตลาด ได้แก่ Pentium lll, Pentium 4, Pentium M ( Centrino ) , Celeron, Dulon, Athlon

4.หน่วยแสดงผล ( Output Unit )
เป็นอุปกรณ์ส่งออกทำหน้าที่แสดงผลข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลหรือผ่านการทำการประมวลผล  คำนวณ  จากซีพียูแล้ว
4.1จอภาพ ( Monitor)เป็นอุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ที่เป็นภาพ ปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือจอภาพแบบ CRT (Cathode Ray Tube )และ จอภาพแบบ LCD ( Liqud Crystal Display )
4.2 เครื่องพิมพ์ (Speaker) เป็นอุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ที่อยู่ในรูปของเสียง สามารถเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ผ่านแผงวงจรเกี่ยวกับเสียง (Sound card ) ซึ่งมีหน้าที่แปลงข้อมูลดิจิทัลไปเป็นเสียง ขั้นตอนที่ 3 : Execute Instruction ALU ปฏิบัติงานตามคำสั่งที่ตีความได้ไม่ว่าจะเป็นการคำนวณทางคณิตศาสตร์หรือการเปรียบเทียบ

5.  อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ (Peripheral Equipment)
เป็นอุปกรณ์ที่นำมาต่อพ่วงเข้ากับคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มากยิ่งขึ้น เช่น
5.1 โมเด็ม(Modem) มาจากคำว่า(modulate/demodulate) เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้ติดต่อกับโลกภายนอกได้อย่างง่ายดาย ปัจจุบันโมเด็มมีทั้งแบบติดตั้งภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ เรียกว่า External Modem
5.2 แผงวงจรเชื่อมต่อเครือข่าย ( LAN card ) เป็นอุปกรณ์ซึ่งทำหน้าที่ในการรับ-ส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หรือเวิร์คสเตชั้น( Workstation) และเครื่องให้บริการข้อมูล (Server)ดังนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆจำเป็นต้องติดตั้งแลนการ์ดการเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล

หลักเกณฑ์ในการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ควรพิจารณาสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. ความจำเป็นในใช้งานคอมพิวเตอร์  ต้องเลือกเครื่องที่เหมาะสมกับงาน
2. พิจารณาวัตถุประสงค์ที่ต้องการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งาน
3. ต้องพิจารณางบประมาณที่จะสามารถจัดซื้อคอมพิวเตอร์ได้ตรงกับความต้องการและการใช้งาน
คุณสมบัติเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ควรพิจารณา
1. หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ Intel ,AMD และ Celeron ส่วนความเร็วของCPU ) ควรอยู่ในระดับ 1.4 2.4 กิกะเฮิรตซ์ แต่การเลือกใช้ซีพียูใดก็ตามมีผลต่อการเลือกใช้แผงวงจรหลักด้วย เช่น           
-ซีพียู AMD Duron , Athion จะใช้กับแผงวงจรหลักแบบ Socket A
-ซีพียู Intel Pentium , Celeron จะใช้กับแผงวงจรหลักแบบ Sockrt 370
-ซีพียู Intel Pentium 4 จะใช้กับแผงวงจรหลักแบบ Socket 478
2. แผงวงจรหลัก เป็นอุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นแผลวงจรทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมโยงอุปกรณ์ต่างๆเข้าด้วยกัน ควรเลือกซื้อแผงวงจรหลักที่สนับสนุนอุปกรณ์ใหม่ๆ เพราะจะสามารถใช้งานได้นานและหาอุปกรณ์เพื่อทำการอัพเกรดได้ง่าย โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแผงวงจรหลักใหม่
3. แรม ควรเป็นหน่วยความจำแบบ DDR RAM และควรมีขนาดอย่างน้อย 128 เมกะไบต์
4. ฮาร์ดดิสก์ ควรเป็นแบบมาตรฐานการเชื่อมต่อแบบ ATA
5. การ์ดแสดงผล ควรสนับสนุนการทำงานแบบสี  เมื่อต้องการใช้งาน  แบบ 3 มิติ
6. จอภาพ ควรมีขนาด 15 17 นิ้วเป็นอย่างน้อยซึ่งเลือกใช้แบบสี  ขึ้นอยู่กับงบประมาณ เนื่องจากจอภาพแบบ LCD จะมีราคาสูงกว่า CRT
7. ซีดีรอมไดร์ฟ ควรมีในการอ่านข้อมูลตั้งแต่ 50 x ขึ้นไป
8.  อุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรอง คอมพิวเตอร์ที่จะซื้อควรมีฟล็อบปี้ดิสก์ไดร์ฟ ขนาด 3.5 นิ้ว
9.  การ์ดเสียง ควรเป็นแบบ PCI และควรสนับสนุนเสียงแบบ 3 มิติถ้าต้องการใช้งานบันเทิง เช่น การเล่นคาราโอเกะ รวมทั้งมีลำโพงด้วย
10. อุปกรณ์เชื่อมต่อระบบเครือข่าย ถ้าต้องการใช้งานอินเตอร์เน็ตควรจัดหาโมเด็มมาใช้งานโดยต้องพิจารณาลักษณะการใช้งานด้วย เช่น ถ้าจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายบ่อยควรเลือกใช้โมเด็มแบบภายนอก(External Modem) หรือการใช้งานไม่จำเป็นต้องมีการเคลื่อนย้ายควรเลือกใช้โมเด็มสำหรับติดตั้งภายใน (Internal Modem )โดยควรมีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลอย่างน้อย56 bps
 11. เครื่องพิมพ์ ควรใช้ให้เหมาะสมกับงานพิมพ์ที่ต้องการ ได้แก่
 -เครื่องพิมพ์แบบ Dot Matrix เหมาะกับงานพิมพ์ที่สามารถทำสำเนาเอกสารได้   
 -เครื่องพิมพ์แบบ Ink Jet เหมาะกับงานพิมพ์ที่ต้องการภาพสี งานกราฟิกและควรเลือกรายละเอียดที่เหมาะกับงาน รวมถึงควรพิจารณาการใช้งานของตลับหมึก กล่าวคือตลับหมึกขาวดำควรแยก เป็นอิสระหมึกสี
 -เครื่องพิมพ์แบบ Laser Printer เหมาะสำหรับงานพิมพ์ที่ต้องการความละเอียดสูง ต้องการความเร็วในการพิมพ์สูง เหมาะสำหรับงานพิมพ์เอกสารที่เน้นข้อความเป็นหลัก
                 
  การเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา
1. โน้ตบุ๊ก เป็นคอมพิวเตอร์แบบพกพา ภายในตัวเครื่องประกอบด้วย จอภาพ เมาส์  คีย์บอร์ด ลำโพง โดยไม่ต้องต่ออุปกรณ์เพิ่มจากภายนอก มีแบตเตอรี่ช่วยให้สามารถนำเครื่องออกนอกสถานที่ได้โดยไม่ต้องเสียบปลั๊กไฟ
2. เดสก์โน้ต เป็นคอมพิวเตอร์ที่นำเอาซีพียูของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมาใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา แต่จะไม่มีแบตเตอรี่ จึงต้องเสียบปลั๊กไฟเวลาใช้งาน เหมาะสำหรับผู้ใช้งานในสถานที่ภายในเดียวกัน
 3. แทบเล็ต พีซี  เป็นคอมพิวเตอร์แบบพกพาที่มีลักษณะคล้ายโน๊ดบุ๊กทั่วไปต่างกันตรงที่ไม่มีคีย์บอร์ด และเมาส์ในการป้อนคำสั่ง แต่จะใช้ปากกาสไตรัส เป็นอุปกรณ์ป้อนคำสั่งผ่านทางหน้าจอทัสกรีน โดดเด่นเครือข่ายแบบไร้สายช่วยเพิ่มความคล่องตัวในการรับ-ส่งข้อมูล ทั้งนี้แทบเล็ต พีซี ได้พัฒนาขึ้นเพื่อการใช้งานนอกสถานที่โดยเฉพาะ
คุณสมบัติที่ควรพิจารณา
1. จอภาพ ควรมีขนาดใหญ่ ดูได้ชัดเจน ควรเป็นแบบ TFT ความละเอียดควรกำหนดอย่างน้อย  800 × 600 จำนวนสีที่สามารถกำหนดได้อย่างต่ำควรเป็น 16 บิต
2. แบตเตอรี่ ควรใช้ ลิเธียมไอออน เพราะว่ามีอายุการใช้งานนานที่สุด
3. หน่วยความจำ ควรติดตั้งแรมให้มากเท่าที่จะทำได้ อย่างน้อย 128 เมกะไบต์ ฮาร์ดดิสก์อย่างน้อย 5 กิกไบต์  ขึ้นไปเพราะว่าโปรแกรมปัจจุบันส่วนใหญ่จะบันทึกผ่านทางแผ่นซีดี
4. ระบบมัลติมีเดีย  หมายถึง ซีดีรอมหรือเครื่องอ่านแผ่นดีวีดีบวกกับ Sound card
      ควรจะมีไว้ในเครื่อง
5. โมเด็ม ถ้าต้องการใช้อินเตอร์เน็ตต้องการส่งแฟกซ์ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์
6. เน็ตเวิร์คการ์ด สำหรับเชื่อมระบบเครือข่าย ถ้ามีการใช้งานด้านระบบเครือข่าย (Network)